PDPA BGH
Architecture

PDPA Personal Data Protection Act

PDPA

PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ที่จะบังคับใช้ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป จะมีบทบาทในการคุ้มครองและให้สิทธิที่เราควรมีต่อข้อมูลส่วนบุคคลของเราเองได้ รวมไปถึงการสร้างมาตรฐานของบุคคลหรือนิติบุคคล ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล, รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล, ใช้ข้อมูลส่วนบุคคล หรือเพื่อการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลก็ตาม ซึ่งล้วนแล้วเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. ฉบับนี้ที่จะต้องปฏิบัติตาม หากผู้ใดหรือองค์กรใดไม่ปฏิบัติตามย่อมมีบทลงโทษตามกฎหมายตามมา ซึ่งบทลงโทษของ PDPA สำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามนั้น มีทั้งโทษทางแพ่ง โทษทางอาญา และโทษทางปกครองด้วย

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ PDPA รพ.บ้านแพ้ว

  • คำสั่ง โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ที่ 618/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล
  • คำสั่ง โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ที่ 619/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานบริกรข้อมูล
  • คำสั่ง โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ที่ 170/2565 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)
  • คำสั่ง โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ที่ 447/2565 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)

    พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  • พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ ฉบับภาษาไทย
  • พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ ฉบับภาษาอังกฤษ

    ประกาศนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รพ.บ้านแพ้ว

  • ประกาศ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) เรื่อง นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
  • ประกาศ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) เรื่อง ความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)
  • ประกาศ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) เรื่อง ความเป็นส่วนตัวในการใช้กล้องวงจรปิด (CCTV Privacy Notice)
  • ประกาศ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) เรื่อง ความเป็นส่วนตัวสำหรับผู้สมัครงานและผู้ปฏิบัติงาน
  • หนังสือแจ้งการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) สำหรับการรับริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
  • แนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)

    เอกสารให้ความรู้

  • คู่มือการให้คำปรึกษาการปฏิบัติตาม พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ฉบับวันที่ 30 พฤษภาคม 2565
  • ความรู้เบื้องต้น "กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาล
  • คู่มือ PDPA สำหรับประชาชน ฉบับ 23 มิถุนายน 2565 โดย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

    Q & A

    4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA

    1. การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA
    ตอบ กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว

    2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA
    ตอบ สามารถโพสท์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

    3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA
    ตอบ การติดกล้องวงจรปิด ภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน

    4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้
    ตอบ ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว
    (1) เป็นการทำตามสัญญา
    (2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
    (3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล
    (4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
    (5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
    (6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง

    ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆ ไป

    PDPA = พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    มาตรา 4 (1) การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น

    ขอบคุณข้อมูลจาก Facebook : PDPC Thailand