ผ่าตัดหัวใจ เคสแรกของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว #เพราะโรคหัวใจรอไม่ได้
โรงพยาบาลบ้านแพ้ว มีทีมแพทย์และทีมงานที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการดูแลรักษาโรคหัวใจ #เราพร้อมดูแลหัวใจคุณ
โรงพยาบาลบ้านแพ้ว มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้การตรวจวิเคราะห์ถูกต้องและแม่นยำ #ให้บริการตรวจรักษาอย่างมืออาชีพ
ทำไมต้องโรงพยาบาลหัวใจบ้านแพ้ว เพื่อให้ทุกหัวใจได้เต้นต่อ
ศูนย์ผ่าตัดหัวใจ ทรวงอก และหลอดเลือด โรงพยาบาลบ้านแพ้ว : Banphaeo Cadiac Center
รักษาผู้ป่วยโรคผนังกั้นหัวใจรั่ว ASD ด้วยวิธีใส่อุปกรณ์ปิดรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องบนผ่านทางสายสวนหัวใจ
ความในใจผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดหัวใจกับโรงพยาบาลหัวใจ
มาฟังเสียงผู้ป่วย หลังผ่าตัดลิ้นหัวใจด้วยเทคนิคส่องกล้องกับโรงพยาบาลบ้านแพ้ว
ความเชื่อมั่นของผู้ป่วยที่เลือกผ่าตัดหัวใจกับโรงพยาบาลบ้านแพ้ว
อีกหนึ่งความไว้วางใจจากผู้ป่วยที่เลือกผ่าตัดหัวใจ กับ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว
อีกหนึ่งเสียงจากญาติของผู้ป่วย ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจจากโรงพยาบาลบ้านแพ้ว
โรงพยาบาลบ้านแพ้ว ปฏิบัติการสวนเส้นเลือดสมองอุดตันช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้สำเร็จ
So Fast So Good เพราะโรคหัวใจ ยิ่งไว..ยิ่งดี โรงพยาบาลบ้านแพ้ว EP.0 เหตุการณ์ไม่คาดฝัน! ระหว่างการตรวจคนไข้ So Fast So Good เพราะโรคหัวใจ ยิ่งไว...ยิ่งดี โรงพยาบาลบ้านแพ้ว
So Fast So Good เพราะโรคหัวใจ ยิ่งไว..ยิ่งดี โรงพยาบาลบ้านแพ้ว EP.1 เมื่อต้องผ่าตัดลำไส้ แต่หัวใจไม่พร้อม
So Fast So Good เพราะโรคหัวใจ ยิ่งไว..ยิ่งดี โรงพยาบาลบ้านแพ้ว EP.2 ชาวนาหัวใจไม่เคยท้อ ผู้ป่วยที่ถูกเลื่อนการผ่าตัดหัวใจมาแล้วถึง 7 ครั้ง
So Fast So Good เพราะโรคหัวใจ ยิ่งไว..ยิ่งดี โรงพยาบาลบ้านแพ้ว EP.3 หัวใจใต้ร่มกาสาวพัสตร์ เมื่อการบวชเป็นหนทางสุดท้ายในชีวิต
So Fast So Good เพราะโรคหัวใจ ยิ่งไว..ยิ่งดี โรงพยาบาลบ้านแพ้ว EP.4 ของขวัญที่ดีที่สุดในวันพ่อ นั่นคือหัวใจและชีวิตใหม่ของคุณพ่อที่ได้รับการดูแลโดยไม่ต้องรอคิวผ่าตัดอีกต่อไป
So Fast So Good เพราะโรคหัวใจ ยิ่งไว..ยิ่งดี โรงพยาบาลบ้านแพ้ว EP.5 ชีวิตข้ามปีใหม่ ของหัวใจดวงสุดท้ายที่ได้รับการคัดเลือกผ่าตัดหัวใจฟรี ในSo Fast So Good เพราะโรคหัวใจ ยิ่งไว..ยิ่งดี โรงพยาบาลบ้านแพ้ว
So Fast So Good Season.2 เพราะโรคหัวใจ ยิ่งไว..ยิ่งดี โรงพยาบาลบ้านแพ้ว EP.6 เมื่อหัวใจ..บอกให้ปล่อยมือ
ทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญ
นพ.คมปิยะ กนกพัชรกุล นพ.ธีระศักดิ์ พึ่งวัฒนาพงศ์ นพ.สุภกิจ คุณูปการ นพ.พรทวี อริยานนท์ พญ.อรพรรณ ลาภนิกรกุล พญ.พรพิมล วิจิตรชัยศิลป์ นพ.สราวุธ สีเหลืองสวัสดิ์ นพ.สมภพ พัทธยกุล พญ.จิรวรรณ ลาวัณย์วิสุทธิ์
อายุรแพทย์โรคหัวใจ
อายุรแพทย์โรคหัวใจ
อายุรแพทย์โรคหัวใจ
ศัลยแพทย์ทรวงอก
อายุรแพทย์โรคหัวใจ
อายุรแพทย์โรคหัวใจ และ Intervention
ศัลยแพทย์ทรวงอก
ศัลยแพทย์ทรวงอก
วิสัญญีแพทย์
(อนุสาขาวิสัญญีวิทยาสำหรับการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดใหญ่ และทรวงอก)
ศักยภาพโรงพยาบาลหัวใจบ้านแพ้ว
“TAVI” เป็นการซ่อมแซมลิ้นหัวใจอันเก่าที่ใช้การไม่ได้ อย่างเช่น กรณีลิ้นหัวใจที่ตีบมาก ๆ หรือมีแคลเซียมเกาะมาก ๆ ทำให้ลิ้นหัวใจแคบลงมีผลตามมาดังนี้ คือ เมื่อหัวใจบีบตัวแล้ว ลิ้นหัวใจไม่ยอมเปิด ทำให้มีเลือดออกมาน้อย ไม่พอเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และเมื่อมีแรงต้าน หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ในระยะแรกหัวใจก็จะปรับให้หนาตัวขึ้นเพื่อสร้างแรงบีบให้ได้มากขึ้น แต่ความสามารถในการคลายตัวช้าลง สอง สำหรับระยะต่อไปเมื่อนานเข้า หัวใจที่หนามาก ๆ เข้า จะขาดความยืดหยุ่น บีบตัวได้ไม่ดี ซึ่งจะทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายตามมา TAVI ในปัจจุบันการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีทางเลือกที่เป็นผู้สูงอายุเท่านั้น และมีโรคแทรกซ้อนที่ไม่สามารถรับความเสี่ยงจากการผ่าตัดเปิดหน้าอกได้ (Surgical Replacement)
ข้อดี
เกณฑ์พิจารณา TAVI
ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
ผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ?
การผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก (Minimally Invasive Cardiac Surgery)
การผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก คืออะไร?เป็นเทคนิคการผ่าตัดหัวใจรูปแบบหนึ่ง ซึ่งทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดที่เล็กลง และยังเปลี่ยนตำแหน่งการผ่าตัดไปยังจุดที่มองไม่เห็นเมื่อผู้ป่วยแต่งกายตามปกติ ซึ่งจะต่างกับวิธีผ่าตัดหัวใจแบบเดิม ที่เรียกว่าการผ่าตัดแบบเปิด (Open Heart Surgery หรือ Conventional Heart Surgery) ซึ่งจะต้องผ่าตัดผ่านแผลตรงกลางหน้าอกยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร และเลื่อยตัดผ่านกระดูกหน้าอก (Sternum) ทำให้เกิดรอยแผลขนาดใหญ่และมองเห็นง่ายจากเดิมการผ่าตัดแบบเลื่อยกระดูกจะใช้เวลาพักฟื้น 2-3 เดือนในการทำให้กระดูกสมานกันสนิท แต่สำหรับการผ่าตัดแผลเล็กจะใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่า โดยใช้เวลาพักฟื้นเพียง 2-3 สัปดาห์เท่านั้น
เทคโนโลยีการผ่าตัวหัวใจแผลเล็กปัจจุบันพัฒนากล้องส่องขยาย (Endoscope) และเครื่องมือช่วยการผ่าตัดหัวใจได้ดีขึ้นมาก ทำให้เกิดการผ่าตัดแผลเล็กที่ได้ทั้งประสิทธิภาพและความสวยงามของแผล
โดยแผลผ่าตัดจะอยู่ในตำแหน่งที่ปกปิดมากขึ้น เช่น ด้านข้างของหน้าอกด้านขวา หรือบริเวณหัวนม ทั้งยังรักษาคุณภาพและมาตรฐานการผ่าตัดแบบเดิมไว้ได้ ทำให้การผ่าตัดแผลเล็กเป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน และมีแนวโน้มจะเป็นมาตรฐานของการรักษาในอนาคต
ประโยชน์ของการผ่าตัดหัวใจแบบส่องกล้องแผลเล็ก คืออะไร
โรคและผู้ป่วยที่เหมาะกับการผ่าตัดแบบแผลเล็ก
การตรวจพิเศษทางหัวใจ
มีประโยชน์อย่างมากทั้งในการวินิจฉัย และประเมินความรุนแรงของโรคหัวใจ หลังจากที่แพทย์ได้ทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจเบื้องต้น การตรวจพิเศษที่สำคัญและถูกนำมาใช้อยู่เป็นประจำ มีดังนี้
การเดินสายพาน (Exercise stress test) เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ ในรายที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกหรือหอบเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง หรือในรายที่ยังไม่มีอาการแต่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
การอัลตราซาวด์หัวใจ (Echocardiogram) อาศัยคลื่นอัลตราซาวด์ในการสร้างภาพ ทำให้เราได้ข้อมูลทั้งในแง่ของรูปร่างลักษณะ และการทำงานของหัวใจ รวมไปถึงสามารถตรวจวัดความดันในส่วนต่างๆของหัวใจและหลอดเลือดได้ การตรวจชนิดนี้จึงเหมาะเป็นการตรวจพิเศษ ในรายที่มีอาการบ่งชี้ว่าจะมีโรคหัวใจ
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดหัวใจ (CT coronary angiogram) จะทำให้มองเห็นหลอดเลือดหัวใจได้ สามารถประเมินได้ว่าหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่ จึงมีประโยชน์อย่างมากในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ มีความแม่นยำสูงมาก จึงเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจในรายที่มีอาการหรือมีความเสี่ยงในการเกิดโรค ที่ไม่สามารถเดินสายพาน หรือ ตรวจด้วยวิธีการอื่นแล้วยังได้ผลไม่ชัดเจน
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 – 72 ชั่วโมง ( Holter monitor) เป็นอุปกรณ์ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพาและสวมใส่ได้เพื่อบันทึกการเต้นของหัวใจและตรวจหาจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางประเภทนั้นเกิดขึ้นเพียงครั้งคราวทำให้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบปกติ (EKG) ในช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกตินั้นได้
การตรวจสมรรถภาพการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงส่วนปลายและตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือด (Ankle Brachial index)
การวัดความดันโลหิต 24 ชั่วโมง (24-hour Ambulatory Blood Pressure Monitoring) ทำให้สามารถตรวจวัดความดันโลหิตที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงของวัน ช่วยในการประเมินการรักษาที่เหมาะสมและแม่นยำมากขึ้น